หัวข้อ: ประวัติความเป็นมา เจ้านายหลวง ผีเมือง ผีเฝ้าพระธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: baojomtong ที่ ตุลาคม 14, 2016, 01:33:19 pm เจ้านายหลวง ผีเมือง ผีเฝ้าพระธาตุ
หอผีเจ้าหัวหน้า ชุมชนที่ตั้งอยู่อาศัยมาแต่โรราณจนกลายเป็นเมืองหรือเวียงจะมีการนับถือผีเมืองซึ่งเป็นผีที่ใหญ่ในชุมชน หรือโหล่ง นั้นพิธีกรรมการเลี้ยงผีเมืองนั้นปรากฎมานานแล้วและบางครั้งอาจมีการผสมผสานวัฒนธรรมการเลี้ยงผีเมือง ไปยังชาติพันธุ์อื่น ผีเมืองจะทำหน้าที่ในการควบคุม ดูแลรักษาเมืองในยามศึกสงครามผี เมืองจะเป็น ผู้ช่วย่รักษา บ้าน เมืองให้รอดพ้นจากข้าศึกศัตรูยามที่เกิดโรคระบาด ผีเมืองจะทำนหน้าที่ปัดเป่าโรคภัยต่างๆพื้นท ี่ที่ปรากฎว่า มีการเลี้ยง ผีมืองนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือเมืองเชียงใหม่ ที่มีการเลี้ยงผีเมือง ก็คือ ผีปู่แซ่ย่าแซ่ เมืองตี๋น (อำเภออมก๋อย) มีการเลี้ยงผีเมืองคือพญาช้างเผือก ,.เมืองหวาย(อำเภอบ้านโฮ่ง) มีการเลี้ยงผีเมือง คือเจ้าพ่อแปดเหลี่ยม อมก๋อยมีการ เลี้ยง ผีเมืองคือ พ่อเหม่อนเฒ่า พ่อเจ้าหนานเป็นต้น ส่วนพิธีกรรมเลี้ยงผีเมืองที่ เมือง ล่า(สิบสองปันนา) จะ เรียกว่า ผีีก่ำเมือง หรือเลี้ยงเทวดาเมืองจะเห็นว่าความเชื่อในการเลี้ยง ผีเมืองเป็นความเชื่อเดิม ของ กลุ่มคนไต ที่มีการสืบทอด การเลี้ยงผีเมืองนี้ เนื่องจากองค์ประกอบในการเลี้ยงผีเมือง หน้าที่ และ บทบาทของ เจ้านายหลวง จึงสะท้อนให้เห็นการ เป็นผีเมืองได้อย่างชัดเจน ในพิธีกรรมการเลี้ยงผีเมืองจะต้องุถูกกำหนดให้มี่ก่อนการเลี้ยง ผีอื่นๆ เช่น ผีประจำ ขะกู๋น (ตระกูล) ผีเสื้อบ้านเพราะในความ เป้นผีเมืองนั้นจะต้องให้พิธีกรรมการเลี้ยงผีเมืองเสร็จสิ้นก่อน จึงจะสามารถ เลี้ยงผีเหล่า นั้นไ ด้ดังนั้นผีเมืองจึงเป็นผีที่ใหญ ่ที่สุดในบรรดาผีของพื้นที่ เมืองยังมีอำนาจในการควาคุมผีในพื้นที่เขต แดนนั้นที่มาของผีเมืองนั้นก็คือของวีระชนผู้ที่ทำประโยชน์ในพื้นที่นั้น เช่น เป็นนำในการรบเป็นผู้นำในการอพยพเข้ามา อยู่อาศัยเมื่อตายไปแล้วชาวเมืองจึงยกย่อง โดย ตั้งใหม้เป็ฯผีเมืองให้คนในเมืองได้เคารพบูชา สัญลัญลักษณ์แห่งผีเมืองคือ การเลี้ยงผีเมืองจะต้องเลี้ยงด้วยสัตว์ใหญ๋ เช่น วัว ควาย การเลี้ยง ผีเมือง ต้องมีชาวบ้าน ชาว เมืองเข้าร่วมเลี้ยง สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของผีเมืองคือ ดงหลวงหรือดงถ้ำ พื้นที่ ตรงนี้เป็นดงผี่ใช้เป็นพื้นที่รวมหมู่ของชาว้านาวเมืองที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีเมืองชาวเมืองจะต้องทำตาแหลว เพื่อเอาไปปิดเขตแตนทั้ง 4 ทิศ เป็นการเตือนไม่ให้คนในออกคนนอกเข้ามา ยังที่เขตเมืองนั้น ถ้าหากมีการฝ่า ฝืนก็จะมี การปรับไหมให้มีการเลี้ยงผีเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่งแต่สภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปจนทำให้พิธีกรรมต้องปรับเปลี่ยนตาม พื้นที่เมืองจอมทองพบว่า มีพิธีกรรมเลี้ยงเจ้านายหลวง ในช่วงเดือน 9 เหนือ ชึ่งพิธีกรรมการเลี้ยงผีเมือง ของแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่พื้นที่ส่วนมากจะเลี้ยงช่วงเดือน 9 เหนือ ผีเจ้านายหลวงเมืองจอมทองก็คือ เจ้าอังครฎฐะ เจ้าหัวหน้า เจ้าขุนไหม ซึ่งผีเมืองแต่ละตนก็จะมีหน้าที่ในการรักษา บ้านรักษาเมือง แตกต่างกันออกไป การเลี้ยง ผีเมือง เจ้านายหลวงจะมีการเลี้ยง 3 วัน จนมีคำกล่าวว่า “เดือน 9 ออก -4 ค่ำ(เลี้ยงเจ้าหัวหน้า) -5 ค่ำหอตะวันตกเลี้ยง เจ้าขุนไหม -6 ค่ำหอตะวันออก เลี้ยงเจ้าอังครัฎฐะ” ประวัติความเป็นมากล่าวว่า โดยให้"เจ้าหัวหน้า"อยู่หอด่าน เป็นบริเวณหน้าเมืองปัจจุบันชาวบ้านเรียก พื้นที่ตำหน่งนี้ว่า"หัวบ้าน"(เป็นหัวบ้านของบ้านหลวง) ปัจจุบันอยู่ที่บ้านสันป่าซางม.9 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง " เจ้าอังครัฎฐะ"นั้นให้ดูแล วัดพระธาตุจอมทอง ส่วนองค์สุดท้าย "เจ้าขุนไหม"ให้ดูแลต้นน้ำขุนน้ำ เจ้าหัวหน้าเมื่อถึงประเพณี(ตามฮีตฮอย)ชาวบ้านจะพากันเลี้ยงเจ้าเมืองหัวหน้าก่อนซึ่งชางบ้านจะมีการเรี่ยไร เงินช่วยกันซื้อของมาเลี้ยงเจ้าหัวหน้า ดดยจะมี ล่ามหอ(คนดูแลศาล) เป็นคนทำหน้าที่ในการเก็บเงินเพื่อเอาไปซื้อของ มาเลี้ยงเจ้าหัวหน้า หมู่บ้านที่มีการเก็บเงินเลี้ยงเจ้าหัวหน้า ได้แก่ บ้านข่วงเปา บ้านฮ่อม บ้านสี่แยกน้อย บ้านสันป่าซาง บ้านรวมน้ำใจข่วงเปา นอกจากนี้ก็มีหมู่บ้นในพื้นที่ ตบ้านหลวง นำเงินมาสมทบเช่วยเลี้ยงเจ้าหัวหน้าด้วยชาวบ้าน ทั้งหลาย ก็จะพากันไปเลี้ยงที่บริเวณ เหล่าหอ หรือบริเวณดงหลวง แต่ปัจจุบันพื้นที่ เหล่าหอนี้กลายเป้นที่นาไปเสีย ส่วน มากจึง มีการย้ายหอเจ้าหัวหน้ามาสร้างใหม่บริเวณหน้าวัดข่วงเปาออก 4 ค่ำเหนือก็จะมีชาวบ้านข่วงเปาเดินทางมาเลี้ยง เจ้าหัวหน้า ขั้นตอนพิธีกรม เลี้ยงเจ้าหัวหน้า 3 ปี จะมีการเลี้ยงหมู 2 ปี มีการเลี้ยงไก่ ซ่งพิธีในการเลี้ยงเจ้าหัวหน้าจะมีใน ตอน เช้าก่อนเที่ยง เมื่อได้เวลาก็จะมีตั้งข้าว (คนนำ) เป็นคนกล่าวฮ่ำ กล่าวโยง(สาธยาย)เพื่อเชิญให้เจ้าหัวหน้าลงมารับ เครื่องเซ่น หลังจากนั้นไม่นานก็จะการเชิญเจ้าหัวหน้า ลงประทับร่าง ทรงหรือม้าขี่ ซั่งม้าขี่ของเจ้าหัวหน้าคือ "แม่ยวง เทพวงศ์" อายุ 87 ปี บ้าน สันป่าซาง การทำหน้าที่ของม้าขี่คือเป็นผู้ติดต่อระหว่างโลกวัญญาณกับโลกมนษย์ ผู้ทีจะ เป็นม้าขี่ได้นั้นก็เป็ฯผู้ที่สืบทอดสาสายขะกู่ฯ(ตะกูล)แม่ยวงก็เช่นกัน รับหน้าที่ม้าขี่ตค่อจากมารดาอีกที ส่วน ทายาทคน ต่อไปที่จะรับหน้าที่เป็นม้าขี่ของเจ้าหัวหน้าก็ย่อมเป็นคยนในขะกู๋น ของแม่ยวง แต่ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น เจ้าหัวหน้า ถึง จะเลือกย่ำประทับเป็นร่างทรง ลูกหลานจะถามเรืองอนาคตข้างหน้า ขณะที่เชิญเจ้าหัวหน้าลงทรงแล้วบรรดาชาวบ้านที่เป็นลูกหลานของเจ้าหัวหน้าก็จะพากันถามถึงเรื่องอนาคต ข้างหน้า ลูหลานภานในภาคหน้าจะเป็นเช่นไร ซึ่งจุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือต้องให้เจ้าหัวหน้าช่วดูแล ลุกหลาน ให้อยู่เย็น เป็นสุข รักษาดูแลบ้านเมืองอย่าให้ได้ร้อนร้าย หลังจากนั้นก็จะมีการขอน้ำมนต์จาก เจ้าหัวหน้า เพื่อเอา ไปเป็น ยากิน รักษาโรคในระหว่างงานเลี้ยง เจ้าหัวหน้า อาหาร และ ของที่เตรียมมาเลี้ยงเจ้าหัวหน้า ชาวบ้านทั้งหลาย จะพากันกินให้ หมดที่บริเวณนั้นโดยไม่นำกลับบ้าน หลังจากนั้นเจ้าหัวหน้าก็จะมัดมือ แล้วให้พรแก่ลูกหลาน ที่มร่วมงานทุกคน เมือใกล้ เสร็จพิธีเจ้าหัวหน้าก็จะออกจากร่างทรง ที่เลี้ยงเจ้าหัวหน้าเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ เครื่องเซ่นไหว้ของผีเจ้าหัวหน้า |