หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาของเจ้าอังครัฎฐะ เริ่มหัวข้อโดย: baojomtong ที่ ตุลาคม 14, 2016, 01:36:04 pm เจ้าอังครัฎฐะ
ตามประวัติเจ้าอังครัฎฐะนั้นเป้นเจ้าผู้ปกครองเมืองอังครัฎฐะ ซึ่งในตำนานพระธาตุจอมทอง กล่าวว่าเป็นช่วงเดียวกันกับสมัยพระพุทธเจ้า เสด็จมาดอยจอมทอง เจ้าอังครัฎฐะ ได้รับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าให้ ดูแล รักษาพระธาตุ บริเวณที่มีการทำ พิธีเลี้ยง เจ้าอังครัฎฐะนั้น เมื่อ ก่อนชาวบ้าน ชาวเมือง จะพากันไปเลี้ยงที่ "ดงหลวง"ชึ่งเดิมนั้นดงหลวงของเจ้าอังครฎฐะอยู่ทางทิศใต้ของวัพระธาตุแม้ปัจจุบันจะมีประเพณีเลี้ยงเจ้าอังครัฎฐะ ซึ่งสถานที่ที่ใช้เลี้ยงนั้นก็เป็นบริเวณข้างหอเจ้าพ่อ เมื่อถึงงานเลี้ยง เจ้าอังครัฎฐะ ชาวบ้านจากบ้านหลวง บ้านลุ่มใต้ บ้านข่วงเปา เดินทางมาช่วยกันในงานเลี้ยง ระหว่างพิธีกรรม การเลี้ยงเจ้าอังครัฎฐะ จะมีเต๊นท์กางเพื่อให้ผีเจ้านาย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เจ้านายเล็ก" มาร่วมในงานเลี้ยงเจ้าอังครัฎฐะ ซึ่งในงานจะเป็นผีเจ้านายในเขตพื้นที่โหลง (บริเวณ)จอมทองพิธีกรรมในการเลี้ยง ชาวบ้านก็จะเชิญเจ้าอังครัฎฐะลงประทับร่างทรง เพื่อให้พรกับลูกหลาน กำนันตำบลบ้านหลวง จะเป็นคนยกขันข้าว ให้ร่างทรงหรือม้าขี่ของเจ้าอังครัฎฐะในขณที่เจ้าอังครัฎฐะลงประทับร่างทรงจากนั้นจะมีการยกขันข้าวจำนวน 7 ขัน ไปให้เจ้าต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป็ฯผีเฝ้าพระธาตุจอมทอง ในพื้นที่บริเวณโดยรอบ ขณะที่เลี้ยงเจ้าอังครัฎฐะอยู่ ห้ามมิให้ ใครมากินของเซ่นของถวายก่อน ปัจจุบันม้าขี่(คนประทับทรง)ของเจ้าอังครัฎฐะนั้น เป็นเด็กหนุ่มจากคณะ เทคนิคการแพทย์ รั้วมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ก่อนหน้านั้นหลังจากร่างทรงคนเดิมชื่อ"แม่แสน"ได้เสียชีวิตลงและในขณะที่เจ้าอังครัฎฐะท่านก็กำลังหา ร่างทรงคนใหม่อยู่ แต่ในณะนี้ท่านก็ยังไม่ได้ย่ำ หรือเลือกเอาใครเป็นร่างทรง ซึ่งในระหว่างงานเลี้ยงเจ้าอังครัฎฐะ ก็จะมีร่างทรงบางคน ที่อ้างว่าตนเป็น เจ้าอังคะรัฎฐาประทับร่างตนแต่ทั้งนี้ผู้ที่สามารถตัดสินได้ว่ารางทรงคนนั้นเป็น ร่างที่ประทับของเจ้าอังครัฎฐะ หรือ ไม่ ก็จะมีการเชิญเจ้าหัวหน้า เจ้าขุนไหมลงมาชี้แจงว่าใช่หรือไม่ซึ่งความหมาย ก็คือผู้ที่จะเป็นร่างทรงของเจ้าอังครัฎฐะ ได้ จะต้องผ่านการยืนยันากเจ้าหัวหน้าซึ่งมีร่างทรง คือ แม่ยวง และ เจ้าขุนไหม ซึ่งมีร่างทรง คือแม่ตอง เมื่อสองคนผู้เป็นร่างทรงไม่ยอมรับก็เป็นร่างทรงของเจ้าอังครัฎฐะไม่ได้ เมื่อถึงงานเลี้ยงเจ้านายหลวงจะต้องมีการเตรียมเครื่องขันทั้ง 7 ไว้เพื่อเอาไปเลี้ยงผีที่เฝ้าวัดพระธาตุอยู่ จำนวนขันทั้ง 7 ขัน ที่ยกไปเลี้ยงผีที่เฝ้าพระธาตุนั้น ได้แก่ ขันที่ 1 เลี้ยงนายประตูหลวง ขันที่ 2 เลี้ยงแสนตันใจ ขันที่ 3 เลี้ยงหมื่นจุ ขันที่ 4 เลี้ยงหมื่นหาญ ขันที่ 5 เลี้ยงเสื้อบ้านบ้านหลวง ขันที่ 6 เอาไว้ที่หอใจ(หอจัย)เจ้าอังครัฎฐะ (อยู่บริเวณด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุ) ขันที่ 7 เอาไปไว้ที่หน้าวิหารวัดบริเวณหน้าบันไดนาคหน้าวัดพระธาตุฯ เพราะที่นั่นคนเฒ่าคนแก่จะเล่าให้ฟังอยู่ เสมอ ว่า(มีเจ้าสองนางอยู่ที่นั่น สมัยนั้นมันไม่มีรถยนต์ หรือไฟฟ้าเหมือนปัจุบัน เมื่อตะวันแลง (ตอนเย็น)คนจะเห็น เจ้าสองนางซึ่งเป็นผู้หญิงที่สวยงาม พากันเดินไปเก็บดอกคำใต้ที่บ้านท่าศาลา(ติดแม่น้ำปิง) เมื่อถึงเวลาเลี้ยงคนจะ ต้องเอาขันข้าวไปถวายให้เจ้าสองนาง เพราะสมัยนั้น เจ้าสองนางมักทำให้คนไม่สบาย นอกจากนี้ยังมีเจ้าที่เฝ้า พระธาตุอีกเช่น เจ้าสุทนต์ จะเฝ้ารักษาอยู่บริเวณประตูทางเข้าวัด เจ้ากิมทอง มีอีกตนนึ่งที่อยู่รักษาแกนพระธาตุมา จนถึงปัจจุบัน แสนตันใจ หมื่นจุ หมื่นหาญ และ นายประตูหลวง ชาวบ้านได้กล่าวไว้ว่าเป็นผีเจ้าที่ติดตาม มาพร้อมกับ พระธาตุเจ้าจอมทอง ปัจจุบันได้มีบทบาทกลายเป็นผีบรรพบุรุษ หรือ ผีปู่ย่าของ สายขะกู๋น (ตระกูล) เมื่อถึง เดือน9เหนือ เมื่อทางชาวเมืองจอมทองเลี้ยงเจ้านายหลวงเสร็จสิ้น ลูกหลาน ที่นับถือผีปู่ย่า เหล่านี้ก็จะเลี้ยงผีปู่ย่า ของ ตนเอง ผีประจำขะกู๋นนี้จะมีกฎในการเลี้ยงคือ ถ้าหากปีนี้ผีเจ้านายหลวงเลี้ยงด้วยหมู แต่ปัจจุบันผีเจ้านายของ บรรดา ผีขะกู๋น นี้จะมีกฎในการเลี้ยงคือ ถ้าหากปีนี้ผีเจ้านายหลวงเลี้ยงด้วยควาย ผีขุกู๋นจะเลี้ยงด้วยหมู แต่ปัจจุบันผี เจ้านายหลวงจะถูกเลี้ยงเพียงหมูอย่างเดียวทำให้การเลี้ยง ผีขะกู๋นก็ถูกเลี้ยงด้วยไก่ นัย (ข้อสำคัญเค้าความ) ที่ซ้อน และ เชื่อมโยง กับความเป็นเมืองจอมทอง เนื่องจากมีเจ้าหัวหน้า เจ้าขุนไหม เจ้าอังครัฎฐะ เป็นเจ้าผู้ปกครอ โดยมี แสนตันใจ หมื่นจุ หมื่นหาญ และ นายประตูหลวง เป็นเสือนข้าราชสำนักในยุคนั้น และมีการสืบทอดลูกหลานกลาย มาเป็นชาวเมืองจอมทอง จนเป็นผีสายขะกู๋นเจ้าเมืองและผีเมืองจอมทอง ทั้งนี้ยังมีการพบการเลี้ยง ผีเจ้าเมืองและ ผีสายขะกู๋น ที่เป็นผีติดตาม ผีเจ้าเมืองมา ที่บ้านดอนมูล จ.น่าน โดยมีการเลี้ยงผีเจ้าเมืองล่า พร้อมกับการเลี้ยงผีที่ ติดตามมา เป็น ”ลูกน้องป้องปลาย”(หมายถึงผีที่ติดตามมา เป็นลูกน้องผีเจ้าเมือง)จนกลายมามีบทบาทในการเป็น ผีขะกู๋นของคนบ้านดอนมูล |