My Community

เรื่องข่าวสารจอมทองบ้านเฮา => เรื่องน่ารู้เประเพณีวัฒนธรรมของอำเภอจอมทอง => ข้อความที่เริ่มโดย: baojomtong ที่ ตุลาคม 14, 2016, 01:39:26 pm



หัวข้อ: การเลี้ยงผีลวะ “วัวก้ำคิง”
เริ่มหัวข้อโดย: baojomtong ที่ ตุลาคม 14, 2016, 01:39:26 pm
http://chomtong.com/html/meungchomtong/laoa.html




การเลี้ยงผีลวะ “วัวก้ำคิง”


                    ลัวะเป็นนามที่ชาวภาคเหนือใช้เรียกชื่อชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง ส่วนทางภาษากลางเรียก”ละว้า”ในประเทศไทย
            พงศาวดารเก่าๆได้เล่าว่า “ลวรัฐ”เป็นรัฐเก่าแก่ของชาวลัวะ และ ตำนานพระธาตุในจังหวัดภาคเหนือได้กล่าวถึง
            ชนชาติ ลัวะ ก่อนชนชาติไทและขอม ในบริเวณประเทศไทย พบว่าชาวลัวะตั้งหลักแหล่ง เป็นจำนวนมากในเขต
            อ.แม่สะเรียง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีประปรายในเขต จ.เชียงราย ลำปาง
            ลำพูน แพร่ น่าน
                      บริเวณพื้นที่แอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน ในตำนานโบราณก็กล่าวว่ามีบ้านเมือง ลัวะ อาศัยอยู่ เช่น พื้นที่
            เชิงดอยสุเทพ และ พื้นที่โดยรอบอื่นๆ ซึ่งเดิมลัวะเป็นชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาก่อนแล้วส่วนพื้นที่ทางตอน
            ใต้เมืองเชียงใหม่ลงมาเป็นเมืองของลัวะทั้งสิ้น จากประวัติศาสตร์นี้ จะพบว่าทางใต้ของเชียงใหม่เดิมก็มีีการ อยู่
            อาศัยอย่างหนาแน่นของชาติพันธุ์ลัวะ ซึ่งถือว่าเป็นชาติพันธ ุ์โบราณ ที่มีการใช้ภาษาพูดตระกูล มอญ ขะแม
            แต่ลัวะ ไม่มีภาษาเขียน จึงทำให้วัฒนธรรมของลัวะถูกวัฒนธรรมของชาติพันธุ์อื่น เข้าครอบงำ และ  กลืนกลาย
            ได้ง่าย

                     เมื่อเป็นเช่นนั้นคนลัวะหายไปไหนละ อันที่จริงแล้วชาติพันธุ์ลัวะไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ภายหลังเมื่อมี
            กลุ่มชาติพันธุ์อื่นอพยพเข้ามา เช่น ไตยอง ไตใหญ่ ไตเขิน ไตลื้อ ทำให้มีการผสมทางชาติพันธุ์เกิดขึ้นจนกลาย
            มาเป็นคนเมืองในปัจจุบันแต่พบว่าชาวลัวะบางกลุ่มที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงได้ทำการอพยพเพื่อหาที่อยู่ใหม่แต่ทั้ง
            นี้อาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการอพยพของลัวะครั้งนี้ด้วย


                   เมื่อมีการกลืนกลายทางวัฒนธรรมสิ่งหนึ่งทียังปากฎให้เห็นเด่นชัดว่าไม่มีการกลืนกลายได้สมบูรณ์แบบคือ
             ผีบรรพบุรุษ (ผีปู่หม่อนย่าหม่อน) จะเห็นว่าในพื้นที่ใดๆที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ก็ปรากฏ ความหลาก
            หลายในวัฒนธรรมการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เช่น เก๊าผีปู่ย่า เก๊าผีมด เก๊าผีลัวะ เก๊าผีเม็ง เก๊าผีกระเหรี่ยงเป็นต้นถึงแม้
            ชาติพันธุ์ เหล่านี้ จะสูญเสียวัฒนธรรมและสูญเสียลักษณะทางชาติพันธุ์แล้วโดยหล่อหลอมเรียกตัวเองว่า
             “คนเมือง”แต่เมื่อมีพิธีกรรมการเลี้ยงผีปู่ย่าผีบรรพบุรุษก็ปรากฏลักษณะทางชาติพันธุ์ที่ซ่อนให้เห็นออกมาอย่าง
            ชัดเจนในพื้นท ี่จอมทองมีการเลี้ยงผีปู่ย่าลัวะ แสดง  ให้เห็นว่าพื้นที่จอมทอง ยังมีวัฒนธรรม แลัวปรากฎให้เห็น
            เฉพาะ ในช่วงที่มีพิธีกรรมการเลี้ยงผีลัวะ


                      เก๊าผีลัวะที่กล่าวถึงเป็นเก๊าผีลัวะ ในพื้นที่บ้านแม่กลาป่าพลู ต.ดอยแก้ว อ.จอมทองซึ่งผีลัวะที่พบในพื้นที่
            มีทั้งหมด 2 เก๊าผี แต่เก๊าผีลัวะที่กล่าวถึงเป็นเก๊าผีใหญ่ มีจำนวนลูกหลาน สมาชิกผีเป็นจำนวนมาก ประวัติความ
            เป็นมา ของเก๊าผีลัวะนี้คือ เดิมมีพ่อหม่อนเก๊าผีเป็ฯคนบ้านบ่อหลวง อ.ฮอด แล้วพ่อหม่อน(ทวด)ก็ได้ย้ายมาอยู่
            ที่บริเวณบ้านเด่นศาลาหน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองแล้วตอนหลังได้ย้ายมาอยู่บ้านดอยแก้วในพื้นที่ปัจจุบันเพราะ
            ย้ายมาทำไร่ทำสวนจะเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะอยู่ในช่วงเดียวกับกา อพยพเข้ามาของกลุ่มคนจากที่ต่างๆ
            ตามการพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าที่ไดกล่าวไว้ว่าดอยจอมทองจะมีความเจริญช่วง 5,000 พระวัสสาปัจจุบันก็ยัง
            พบว่าคนลัวะ  บ้านบ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่  ยังคงมีสายสัมพันทาง เครือญาติกับคน บ้านแม่กลาง บ้านลุ่ม
            ต.ดอยแก้ว คนบ้านสบเตี๊ยะ ต.สบเตี๊ยะ  คนบ้านหลวง ต.บ้านหลวง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอจอมทอง ปัจจุบันกลุ่ม
            คนทั้งสองพื้นที่ยังมีการติดต่อกันผ่านการแลกเปลี่ยนสินค้า และ การค้าขายอยู่เสมอ


                    พิธีกรรม การเลี้ยงผีลัวะ แต่ก่อนนั้น 3 ปี ถึงจะมีการเลี้ยงพ่อหม่อนครั้งหนึ่งโดยลูกหลานผีลัวะทั้งหลายจะ
            เอา ไก่มาสมทบกันที่บ้านเก๊าผี หลังคาเรือนล่ะหนึ่งตัว ตอนนั้นไก่ที่เอามาเลี้ยงประมาณ 30- 40 ตัว แต่ปัจจุบัน
            การเลี้ยงพ่อหม่อนก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา การเลี้ยงพ่อหม่อนเปลี่ยนเป็นเลี้ยงทุกปี ในเดือน 9 เหนือ แต่จะไม่
            เลี้ยงในเสีย  วันพุธ และ วันศีล โดยเงินที่ใช้เลี้ยงพ่อหม่อนก็จะเก็บมาจากลูกหลานผีลัวะทั้งหลายเก็บ     คนละ
            30 บาท โดยวิธีการเก็บเงินก็จะให้ลูกหลาน ที่อยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ หมู่บ้านละหนึ่งคน เป็นคนเก็บเงินสมาชิก ทั้ง
            หลายที่อยู่ในหมู่บ้านนั้น ส่วนคนที่มีหน้าที่เก็บเงินไม่ต้องออกเงินค่าเลี้ยงพ่อหม่อน แม่หมอน


                     เงินที่ได้จากการวบรวมเพื่อเลี้ยงบพ่อหม่อนแม่หม่อนทั้งหมดก็จะเอาไปซื้อของถวายต่างๆ เช่น หมู 2 ตัว
            ไก่ 2 ตัว เงินที่เหลือก็๗นำไปซื้อของจำเป็นอื่นๆก่อนวันเลี้ยง 1 วันลูกหลานทั้งหลายจะรวมตัวกันเพื่อตระเตรียม
            สิ่งของ เงินที่เหลือก็จะนำไปซื้อของจำเป็นอื่นๆ ก่อนวันเลี้ยง 1 วันลูกหลานทั้งหลายจะรวมตัวกันเพื่อตระเตรียม
            สิ่งของ สำหรับเลี้ยงพ่อหม่อนแม่หม่อน ในวันเลี้ยงของที่เตรียมไว้มี ดังนี้
                     1. หัวหมู พร้อมเครื่องใน
                     2. ไก่ 1 คู่
                     3. หมูทอด
                     4. ไส้อั่ว
                     5. ลาบ
                     6. แกงอ่อม
                     7. เหล้าขาว 1 ขวด
                     8. ข้าวจ้าวหุง 1 จาน
                     9. ข้าวต้ม
                   10. ขนมของหวาน
                   11. ผลไม้
                   12. หมาก
                   13. เมี่ยง
                   14. บุหรี่
                   15. ค่าขันดอก  12  บาท

                     เมื่อถึงเวลา ในการเลี้ยงพ่อหม่อนแม่หม่อน ม้าขี่หรือคนทรงจะเข้าในห้องพ่อหม่อนแม่หม่อนไปไหว้ที่หิ้ง
            ผีปู่ย่า เพื่อขอให้พ่อหม่อนลงมาประทับร่างทรง ลูกหลานจะได้ทำพิธีเลี้ยง ไม่นานม้าขี่ก็จะมีอาการหาว และ เริ่ม
            สั่น ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงว่าพ่อหม่อนเริ่มประทับร่างม้าขี่แล้ว หลังจากนั้นม้าขี่ก็จะออกมานั่งกลางบ้าน ลูก
            หลานทั้งหลายก็จะพากันเอาเสื้อผ้าใหม่ที่เตรียมไว้ใส่ให้พ่อหม่อน การพูดคุยระหว่างพ่อหม่อนกับลูกหลานก็เพื่อ
            ขอให้พ่อหม่อนปกป้องรักษาลูกหลานทั้งหลาย ทั้งที่มาร่วมงาน และ ไม่ได้มาร่วมงาน ให้อยู่ดีมีสุข จากนั้นเมื่อ
            ใกล้เวลาที่พ่อหม่อนจะออกจากร่างทรง บรรดาลูกหลานทั้งหลายก็จะพากันมาขอให้พ่อหม่อนมัดมือให้บางคนที่
            ไม่สบายก็จะเตรียมขวดน้ำมาเพื่อขอน้ำมนต์จากพ่อหม่อนเอาไปกินแทนยารักษาโรค ให้ตนเองหายจาก โรคภัย
            ไข้เจ็บนั้น  หลังจากที่พ่อหม่อนออกจากร่างทรงไม่นาน แม่หม่อนก็จะประทับร่างทรงตามโดยบรรดาลูกหลานทั้ง
            หลายก็จะพากันต้อนรับแม่หม่อนเหมือนกับพ่อหม่อน ในการเลี้ยงครั้งนี้จำนวนคนที่เข้าร่วมประมาณ 100กว่าคน
            ซึ่งเป็นลูกหลานมาจาก บ้าน ดอยแก้ว บ้าน ทุ่งหมากหนุ่ม บ้าน ลุ่มใต้ บ้าน   รวมน้ำใจข่วงเปา  บ้าน สี่แยกน้อย
            บ้านหลวง บ้านสบเตี๊ยะเป็นต้น เมื่อลูกหลานคนใดละเลิกผี ตัดผี (ออกจากรีต) จะทำให้คนๆนั้นไม่สบายเจ็บป่วย
            ไปรักษาที่โรงพยาบาล ก็ไม่มีอาการดีขึ้นจนต้องไปดูหมอทางไสยาศาสตร์ จึงรู้ว่า เพราะตนเองไม่สนใจผีบรรพ
            บุรุษจนเกิดเหตุไม่สบาย ก็ต้องมาทำการซื้อเข้าผีเพื่อขอกลับเข้าไปนับถือผีบรรพบุรุษเหมือนเดิม ผีลัวะก็เช่นกัน
            เมื่อมีคนตัดผีการที่จะกลับเข้ามาก็ต้องซื้อเข้าผี 1,500 บาท การที่ต้องซื้อ เข้าเพราะเป็นการปรับไหมคนที่ตัด ผี


            ช่วงเวลาที่สำคัญคือ ช่วงที่พ่อหม่อนแม่หม่อน ลงมาพบกับ ลูกหลาน ซึ่งจะต้องผ่านการติดต่อจากร่างทรง หรือ
            ม้าขี่ การเชื่อมโยงระหว่างสองโลกวิญาณนี้มีการติดต่อมานานนับหลายช่วงหลายสมัย ในการเลี้ยงผีลัวะร่างทรง
            คือ ชาวบ้านผู้หญิงบ้านแม่เตี๊ยะ การสืบทอดการเป็นร่างทรงนั้น จะมีการคัดเลือกจากคนในเก๊าผีลัวะเดียวกัน ร่าง
            ทรงจึงมีความสำคัญในการสืบต่อพลวัตรของผีลัวะต่อไป


            รายชื่อลูกหลานผีลัวะทั้งหลายที่เข้าร่วมในการเลี้ยงผีลัวะจะถูกบันทึกไว้ในสมุดรายชื่อเลี้ยง พ่อหม่อน แม่หม่อน
            ชาวบ้านเรียก“เส้น”สมุดนี้จะแสดงรายนามของลูกหลานผีลัวะทั้งหมด เมื่อเวลาที่มีการเก็บเงินเลี้ยงผีก็จะใช้สมุด
            นี้ เป็นหลักฐานในการเก็บเงิน และ เป็นสมุดที่แสดง  รายรับ – รายจ่าย นอกจากนี้      ยังแสดงรายนามผู้ที่เลี้ยง
            ”วัวก้ำคิง” โดยมีการตกลงตามข้อบังคับที่ต้องเลี้ยงวัว และ ต้องลงชื่อยินยอมคล้าย เป็นสัญญาทางกฎหมายแต่
            ความเป็นจริงเป็นเพียงการแสดงลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ไม่ได้เป็นข้อบังคับตามกฎหมายจริง  แต่เป็นเพียงการ
            ปฎิบัติตามกฎของฮีตฮอยนัยอีกอย่างหนึ่งคือกระบวนการจัดการของเก๊าผีที่มีการเปลี่ยนแปลงตามโลกสมัยใหม่
            แทนแบบเดิมที่ใช้วิธี “การจำ”เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากจำนวนลูกหลานผีมีจำนวนมาก ทำให้ต้องหาวิธีการจัดการ
            ที่เหมาะสมขึ้น


                   เมื่อก่อนพ่อหม่อนแม่หม่อนจะมีวัวอยู่เรียกกันว่า”วัวก้ำคิง”วัวนี้ปัจจุบันยังมีการเลี้ยงสืบทอดกันอยู่ วัวก้ำคิง
            นี้จะมีความสำคัญ คือจะต้องมีการสืบต่อวัวเรื่อยๆถ้าวัวตายลูกหลานก็จะต้องรวบรวมเงินซื้อมาเลี้ยงแล้วเอาด้าย
            ไปคล้องที่คอวัว ชาวบ้านก็บอกกล่าวแก่พ่อหม่อนแม่หม่อนว่านี้คือ “วัวก้ำคิง” ในทุก 3 ปีที่มาการเลี้ยงผีจะต้อง
            นำวัว ก้ำคิงมาทำพิธีเช่นนี้ ปัจจุบันผู้ที่เลี้ยงวัวก้ำคิงคือ นาย คำ - นางแก้ว บ้านแม่เตี๊ยะ การเลี้ยงวัวก้ำคิงจะเป็น
            การเลี้ยงผ่า คือ ถ้าวัวก้ำคิงเกิดลูกออกมา ลูกตัวแรกที่เกิดจะเป็นของคนเลี้ยง ส่วนลูกตัวที่สอง จะเป็นขอบเก๊าผี
            หากมีการขายวัวก้ำคิงไปได้เงินอยู่ 5,000 บาทก็จะมีการแบ่งเงินให้คนเลี้ยง2,500 บาทอีก 2,500 บาทก็จะต้อง
            ไปซื้อวัวก้ำคิงตัวใหม่มาแทน โดยจะต้องมีวัวก้ำคิงตลอดไปไม่มีไม่ได้ วัวก้ำคิงจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ
            ของการสืบทอดเก๊าผีลัวะนี้อย่างชัดเจน วัวก้ำคิง ความหมายก็คือ ค้ำตัว หรือ ค้ำขะกู๋น ของผีลัวะสืบไป การมี
            วัวก้ำคิง ของผีลัวะนั้น พบเห็นได้เฉพาะเก๊าผีลัวะที่บ้านแม่กลางป่าพลู เพียงแห่งเดียวเท่านั้น