My Community
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนาน หลักเมือง ดือเมือง จ๋อมตอง  (อ่าน 3218 ครั้ง)
baojomtong
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2016, 01:31:41 pm »

 หลักเมือง  ดือเมือง


                      บ้านเมืองเมื่อมีการตั้งหลักปักฐานที่ไหนก็จะมีการแสดงความเป็นเมืองโดยการหาสัญลักษณ์มาเป็น เครื่องมือ
              ในการแสดงความเป็นเมืองเขตแดนของเมือง หลักเมือง ดือเมืองจึงเป็นตัวแทนของการอธิบายพื้นที่เมืองการแสดง
              อาณาเขต แดนของเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งในวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มคนไตจะปรากฎว่ามีการวางเสาหลักเมืองให้เป็น
              มิ่งขวัญ ของ ชาวเมือง นอกจากนี้ยังพบ กลุ่มชาติพันธ์อื่น ที่ตั้งชุมชนอาศัยอยู่ใกล้กับ กลุ่ม "คนไต"ก็ได้ยอมรับเอา
              อิทธิพล ความเป็นเมืองของเสาหลักเมือง ไปด้วยเสาหลักเมือง เป็นตัวกำหนด หมุดหมายใจ กลางเมือง บอกความ
              เป็นตัวเมือง เพราะการวางตำแหน่งในการตั้งเสาหลักเมือง ยังไม่มีนัยของำว่าใจบ้านใจเมือง เข้าไปด้วย       ทำให้
              ความหมาย ของ เสาหลักเมือง ยังครอบคลุมไปถึง การเป็นศุนย์รวม ทางจิตใจ การเป็นศูนย์รวมของพิธี การร่วมกัน
              ของชาวบ้าน ชาวเมืองตัวอย่างเสาหลักเมืองที่เห็นชัดในปัจจุบันก็คือเสาอินทขิลเสาหลักเมือง     เชียงใหม่ซึ่งจะม๊
              ประเพณี ไหว ้เสาอินทขิล ในช่วง เดือนเก้าเหนือ เช่นกัน ในพื้นที่อื่นๆ ก็จะมี   การเลี้ยง เสาหลักเมือง ของตนตาม
              ฮีตฮอย ที่มีการเลี้ยง แต่ดั้งเดิมมา "พ่อตั๋น นะมูลต๊ะ "บ้านน้ำโจ้ ต.ข่วงเปา กล่าวว่า     “เมืองจอมทองนี้คนแต่ก่อน
               เรียก กันแบบนี้ แต่ปัจจุบันเขาไม่เรียกกันแล้วเมืองนี้จะต้องรวมกันหลายๆหมู๋บ้านเมืองนี้ มีจุดศูนย์กลางที่ ดือเมือง
              หลักเมือง กลางเมือง ใจเมือง ที่เรียกชื่อ แบบนี้ก็เหมือนกันหมด    เวลามีการมีงานผู้คนก็ไปร่วมกัน จะมีการนิมนต์
              พระสงฆ์มาทำพิธีเรา เรียกว่า " พิธีเลี้ยงพระเจ้า    หลักเมือง และ พิธีสืบชะต๋าเมือง ”
...

                        การปรากฎชื่อในการเรียกเสาหลักเมือง ในพื้นที่เมืองจอมทองยังมีปรากฎการเรียกชื่อสัญลักษณ์นี้แตกต่าง
              ต่างกันออกไป ซึ่งชื่อที่เรียกนั้นไม่มีความสำคัญเท่านัยต่างๆ ที่ซ้อนไว้ในชื่อซึ่งสัญลักษณ์นี้อาจมีชื่อเรียกแตกต่าง
              กันออกไปได้แก่ เสาหลักเมือง ดือเมือง กลางเมือง ใจเมือง การซ้อน ความสำคัญ ซึ่งปรากฎออกมาแสดง ให้เห็น
              ความเป็นศูนย์กลางของ พื้นที่ ในเมือง เสาหลัก เมือง จึงมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่กลางเมืองกลางจิใต้สำนึกของวิถีชีวิต
              ผู้คนชาวเมือง จนปรากฎออกมาตามชื่อเรียกแต่ละชื่อ..........

                         เสาหลักเมืองจอมทองไม่ปรากฎปีที่สร้างอย่างแน่นอน เพราะการตั้งเป็นเมืองจอมทองนั้น ถ้านับเวลาที่        
      มีการสร้างพระธาตุก็ยังไม่มีการระบุถึงการสร้างหลักเมือง แต่การเข้ามาอยู่อาศัยของชุมชนแห่งนี้อาจทำให้มีการ
              ตั้งชุมชนจนกลายเป็นเมืองจอมทอง    ในปัจจุบันจึงคาดว่าเสาหลักเมืองหรือเมืองจอมทองน่าจะเกิดในยุคเดียว
              กับการสร้างพระธาตุจอมทองหรือร่วมสมัยกับยุคนายสร้อย นางเม็ง ปัจจุบันหลักเมืองจอมทองตั้งอยู่ที่บ้านหลวง
              จอมทองสถานที่ตั้งมีลักษณเป็นเนินดินใต้ต้นมะขามใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกหมู่บ้า ละแวกนั้นว่า “บ้านหลักเมือง”
              และบริเวณโดยรอบเสาหลักเมืองจะเป็ฯแหล่งชุมชนที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ปัจจุบันทาง เทศบาลตำบล
              จอมทองได้มาสร้างศาลหลักเมือง และ เสาหลักเมืองใหม่ แต่ตำแหน่งที่ตั้งก็คงวางอย ู่ณ.ตำแหน่งเดิมซึ่งความ
              สำคัญของการวางตำแหน่งเสาหลักเมืองคือตรงกลางเมืองจอมทองจนนำมาสู่ความเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน
              และจิตใจของชาวเมือง


                       การเลี้ยงเสาหลักเมืองจะมีการเลี้ยงเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนเมษายนที่บริเวณข่วง(ลาน) หลักเมือง
              แต่การเลี้ยงเสาหลักเมืองจอมทองจะไม่มีการเลี้ยงสังเวยด้วยชีวิตสัตว์    ซึ่งไม่เหมือนการเลี้ยงเสาหลักเองบาง
              พื้นที่ที่มีการเลี้ยงสังเวยด้วยพวกสัตว์เช่น หมู วัว หรือ ควายการเลี้ยงเสาหลักเมืองจอมทองจะมีชาวบ้านในพื้นที่
              และหมู่บ้านข้างเคียงมาร่วมพิธีกรรมในการเลี้งเสาหลักเมืองชาวบ้านจะนำเอาดอกไม้, ขนมข้าวต้มของหวานมา
              เลี้ยง เสาหลักเมือง มีการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมในพิธี ซึ่งในอดีตงานการเลี้ยงเสาหลักเมือง คงจะมีชาวบ้านจาก
              บ้านหลวง และลูกหลานจากหมู่บ้านพื้นที่อื่นมาร่วมพิธีกรรม ภายหลัง เมื่อมีการแยก หมู่บ้านออกจาก บ้านหลวง
               จึงทำให้หมู่บ้านเหล่านี้ ไม่เข้าร่วมพิธีกรรมการเลี้ยง เสาหลักเมือง เหมือนในอดีต แต่การเลี้ยง เสาหลักเมือ ยัง
              คง ความสำคัญต่อชุมชนจนถึงปัจจุบัน  เมื่อเกิดเหตุร้ายหรือเกิดเคราะห์ร้ายในบ้านในเมือง เช่น เมื่อมีคนล้มตาย
              ในบ้านในเมืองมีจำนวนมากและความถี่เพื่มขึ้น หรือมีสัตว์ตายล้มป่วยในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น เกิดโรคระบาด หรือ
              ศึกสงครามขึ้นในบ้านในมือง ชาวบ้านชาวเมืองก็จะมีการสืบชะตาบ้านชะตาเมืองเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ร้าย
              ต่างๆ ที่เข้ามาสู่บ้านสู่เมือง ซึ่งจะส่งผลทำให้สภาพบ้านเมือง รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น  การกระทำ
              ดังกล่าวนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เพื่อให้มีกำลังที่เข้มแข็งในการต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
              และเป็น การระดม จิตใจของผู้คนชาวเมืองให้ต่อสู้กับสิ่งเลวร้ายเหล่านี้

                                  พิธีกรรมการสืบชะตาเมืองนั้นไม่ได้มีการกระทำเป้นประจำทุกปี แต่จะกระทำเมื่อเกิดเหตุร้ายหรือ
              มีเคราะห์ร้ายเกิดขึ้น หรือจัดเมื่อมีงานพิธีกรรมดังกล่าว     เว้นช่วงไปนาน พิธีกรรมจะทำใน        เดือน 6 เหนือ
              ณ.บริเวณหลักเมืองโดยมีการโยงสายสิญจน์จากเสาหลักเมือง ไปยังหลังคาบ้านเรือน   ทุกหลังคาที่เป็นหมู่บ้าน
              ที่อยู่รอบๆหลักเมือง ได้แก่      บ้านฮ่อม บ้านสันไฟฟ้า บ้านป่ากล้วย  บ้านสันไม้ลุง บ้านสันป่าซาง  บ้านน้ำโจ
 ้              บ้านท่าอ๊อป บ้านน้ำบ่อหลวง บ้นเด่น เป็นต้น ซึ่งหมู่บ้านเหล่านี้เมื่อก่อนเรียกรวมกัน ว่า  " บ้านหลวงจอมทอง"
               แล้วเรียกบ้าเล่านี้ว่าเป็น ป๊อก(หมู่)บ้านต่างๆในบ้านหลวง

                           “พ่อสมบูรณ์ ฝายนันตา ได้อธิบายเกี่ยวกับเขตแดนของบ้านหลวงว่า “หมู่บ้านที่ร่วมพิธีสืบชะตา จะมา
              ทุกหลังคาเรือนทางทิศเหนือสุด ถึง วัดข่วงเปา ทางทิศใต้  ไปจนสุดบ้านดอยแก้ว ส่วนด้วยสายสิญจน์หมดไป
              100 กว่าม้วน จะทำการสืบชะตาใน    เดือน 6 เหนือ ราเรียกว่า”สืบชะตาเมือง”  

    
                                   ความสำคัญของเสาหลักเมือง ได้ส่งผลต่อความเป็นเมืองจอมทอง ของคนจอมทองสืบทอดมา
               ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันเพราะเสาหลักเมืองในปัจจุบัน ได้แสดงนัยของความเป็นเมือง ผ่านพื้นที่ เขตแดนของ
              เมือง การให้ความสำคัญต่อพธีการเลี้ยงหลักเมือง ในปัจจบันได้มีการสานต่อ ความเชื่อความศรัทธานี้ต่อไปดัง
              จะเห็น ความเชื่อความศรัทธาในพื้นที่โดยมีการสานต่อแนวคิดการสืบชะตาเมือง ในยามที่บ้านเมืองเกิดทุกข์ร้าย
              ถึงแม้กระแสสังคมของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป และมีเหตุผล ทางวิทยาศาสตร์ มารองรับแต่ความเชื่อของชาว
              บ้าน นั้นยังมีความ ผูกพัน กับความเชื่อเดิมสูงอย่างจริงบใจ

 




* DSCF2473.JPG (125.15 KB, 800x600 - ดู 810 ครั้ง.)

* DSCF2469.JPG (97.46 KB, 800x600 - ดู 803 ครั้ง.)

* DSCF2494.JPG (98.07 KB, 800x600 - ดู 807 ครั้ง.)

* DSCF2482.JPG (132.23 KB, 600x800 - ดู 816 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2016, 01:32:49 am โดย baojomtong » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: