ประเพณีสิบสองเดือนของจอมทอง
ประเพณีสิบสองเดือนของชาวอำเภอจอมทอง
(การนับเดือนทางภาคเหนือ จะต้องนับเดือนล่วงหน้าไปอีก 2 เดือนภาคกลาง)
เดือนเกี๋ยง หรือ เดือนอ้าย
ตรงกับเดือนเอ็ดของภาคกลาง(ช่วงเดือนตุลาคม) ประเพณีที่ถือปฎิบัติคือ ประเพณ๊ตักบาตรเทโว
(เทโวโรหนะ) ซึ่งเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปจำพรรษา ณ. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพื่อทรงโปรดพระมารดา ครั้นออกพรรษาจึงเสด็จกลับ โลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร เพื่อเป็นการระลึก ถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้จึงพร้อมกันทำบุญตักบาตร โดยถือเหมือนหนึ่งว่าใส่บาตรพระพุทธเจ้าที่ลงมาจาก
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เดือนยี่
ตรงกับเดือนสิบสองของภาคกลาง (ช่วงเดือนพฤศจิกายน )จะมีประเพณีเดือนยี่เป็ง โดยมีการทำบุญ
ตักบาตร ฟังเทศน์ การจุดประทีปโคมไฟ การปล่อยโคมลอย หรือ ว่าว การลอยกระทง
เดือนสาม
ตรงกับเดือนหนึ่งของภาคกลาง (ช่วงเดือนธันวาคม) โดยมีประเพณีเขช้ารุกขมุลหรือโสสานกรรม ชาวบ้าน
บางท้องที่ เรียกว่า อยู่ก่ำ คือพระสงฆ์ออกจากวัดที่อาศัยอยู่ตามปกติ ปอาศัยอยู่ใต้โคนต้นไม้หรือใน
ป่าช้าต้องถือปฎิบัติใน ธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด ระยะเวลาที่กำหนด 5 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน ประชาชนก็
พากันไปร่วมทำบุญ ฟังเทศน์ทุกวัน
เดือน สี่
ตรงกับเดือนสองของทางภาคกลาง(ช่วงเดือนมกราคม) จะมีประเพณ๊ตานข้าวใหม่ เป็นเดือนที่ชาวนา
เก็บเกี่ยวข้าว แล้วนำไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง ก่อนที่จะนำมาบริโภคจะนำไปทำบุญก่อน เพื่ออุทิศส่วนกุศล
ให้แก่ เทพยดา พระแม่โพสพ และ ยังมีประเพณีเผาหลัว(ฟืน)พระเจ้า ซึ่งเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
ชาวบ้านมีประเพณี โบราณสืบทอดกันมาเพื่อคลายความหนาวเย็น และ สักการะบูชาพระพุทธเจ้า
โดยตัดไม้ในป่า แล้วถากเปลือกสุมไว้เป็นกองๆเวลาประมาณตี 4-5 จะมีการจุดฟืน หรือ หลัว ผิงไฟ
ให้แก่พระพุทธเจ้า เพราะเชื่อว่าท่านก็คงหนาวเหมือนกัน พิธีกรรมนี้จะเริ่มจากการเตรียมฟืน(ไม้จี้)
ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 4 เหนือ
เดือนห้า
ตรงกับเดือนสามของทางภาคกลาง(ช่วงเดือนกุมภาพันธ์)จะมี ประเพณีมาฆบูชา คือชาวพุทธจะพา
กันนำดอกไม้ธูปเทียน ไปกราบพระรัตนตรัย ฟังเทศน์ เดินปะทักษิณเวียนเทียนรอบพระอุโสถ วิหาร
หรือ เจดีย์ 3 รอบ
เดือนหก
ตรงกับเดือน สามของทางภาคกลาง(ช่วงเดือนมีนาคม) จะมี ประเพณีปอยหลวง มีการฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือการฉลองสิ่งก่อสร้าง ที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างข้นโดยจัดให้มีการแห่
ครัวทานจากกลุ่มบ้าน่ต่างๆ ไปถวายที่วัด และมีการละเล่นต่างๆด้วย
เดือนเจ็ด
ตรงกับเดือนห้าของทางภาคกลาง (ช่วงเดือนเมษายน)จะมี ประเพณีรดน้ำดำหัวและ ประเพณี
แห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งจะเริ่มกันในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี จะมีการเล่นสาดน้ำการทำบุญที่วัด
ปล่อยสัตว์การขนทรายเข้าวัด การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่เคารพรัก
เดือนแปด
ตรงกับเดือนหกของทางภาคกลาง(ช่วงเดือนพฤษภาคม) จะมี ประเพณีเดือนแปดเป็ง จะมีการ
ทำบุญตักบาตรตามวัดต่างๆ และ เดือนแปดเป็ง(เพ็ญ) ตรงกับวันวิสาขบูขาและเป็นประเพณี
ที่สำคัญของท้องถิ่นด้วย
เดือนเก้า
ตรงกับเดือนเจ็ดของภาคกลาง (ช่วงเดือนมิถุนายน) จะมี ประเพณีเดือนเก้าเป็ง จะมีการทำบุญ
ตักบาตร และมีการสรงน้ำพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง รวมทั้งมีการละเล่นต่างๆ และ ประเพณีเลี้ยงผีปู่
ย่า หรือ ผีบรรพบุรุษ เช่น ประเพณี การฟ้อนผีมด
เดือนสิบ
ตรงกับเดือนแปดของทางภาคกลาง(ช่วงกรกฎาคม) จะมีประเพณ๊ทำบุญเข้าพรรษาในวันขึ้น15ค่ำ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะพากันทำบุญตักบาตรที่วัด พร้อมทั้งจะปณิธานว่าจะลด ละ เลิก อบายมุขทุกอย่าง
เดือนสิบเอ็ด และ เดือนสิบสอง
ตรงกับเดือนเก้าและเดือนสิบของทางภาคกลาง (ช่วงสิงหาคม/กันยายน) จะมีประเพณีถวายสลากภัตร
หรือ การตานก๋วยสลาก ซึ่งเป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจง พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง จะมีการทำก๋วย(ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่บรรจุข้าวปลาอาหารและสิ่งจำเป็นและมีการจับสลากว่าจะ
ได้นำไปถวายพระสงฆ์รูปใด
ข้อมูลจากหนังสือประวัติเมืองจอมทอง
คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอจอมทอง
|