ประเพณีเข้ารุกมูล หรือ โสสานกรรม


ในล้านนาไทยมีประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งพระสงฆ์และศัทราประชาชนได้ร่วมกันจัดทำในระหว่าง
เดือน 3-4-5 เหนือ คือช่วงเดือนทางสุริยคติ ธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ นิยมให้พระสงฆ์ตาม
วัดต่าง ๆ
ออกไปเข้าโสสาน หรือเข้ารุกขมูล หรือเข้าโสสานกรรมในป่าช้า กิจกรรมเหล่านี้ทำขึ้นจน
เป็น ประเพณ ีสืบต่อกัน
มาจน ถึง ปัจจุบัน โสสาน คือ สุสาน หรือ ป่าช้า ที่ฝัง หรือ เผาศพของชาว
ล้านนาไทยมีอยู่ 2 ประเภท คือ ป่าช้าสำหรับใช้เผา และ ป่าช้าสำหรับใช้ฝัง ป่าช้าสำหรับเผา จะทำ
เชิงตะกอนก่อด้วยอิฐถือปูนไว้ เพื่อนำศพขึ้นเผา
บางแห่งทำเป็นเมรุอย่างดี สิ้นค้าใช้จ่ายแต่ละแห่ง
หลายแสนบาททีเดียว ป่าช้าสำหรับ ฝังนั้น แต่ โบราณมาคน ใน ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวลาตายนิยมนำศพไปฝังที่ป่าช้าเป็นส่วนมาก บางกรณีก็มีการนำเอาข้าวของเครื่อง
ใช้ส่วนตัวไปฝัง
ด้วย เช่นศพของชาวกะเหรี่ยงชาวลัวะ เป็นต้นเรามักจะขุดพบเสมอที่มีโครงกระดูกและอุปกรณ์เครื่อง
ใช้ของ
คนตายต่อมาเราได้รับเอาพุทธศาสนาประเพณีวัฒนธรรมจากอินเดียและลังกาเข้ามาประพฤติ
ปฎิบัติกัน
ในอินเดียและลังกา นิยมเผาบนเชิงตะกอน เราได้นับถือคตินั้น จึงละจากการฝังดินมาทำ
พิธีเผากัน เป็นส่วนมากแต่ คนไทยบางแห่งยังแบ่งเกณฑ์อายุของคนตายไว้ว่า อายุต่ำกว่า 20 ลงมา
จนถึงเด็ก เมื่อตายลงญาติจะนำไปฝังไว้ใน
ป่าช้า
ด้านหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านจะแบ่งเขตไว้เป็นป่าช้าฝัง
อีกส่วนหนึ่งเป็นป่าช้าเผาคือบริเวณที้เป็นเชิงตะกอนเผาศพคำว่าโสสานหรือสุสานเป็นคำในภาษาบาลี
ชาวบ้านส่วนมากมักจะเรียก ป่าช้าบ้าง ป้าเฮี่ยว บ้าง สุสานบ้าง แล้ว
แต่ความนิยม พระสงฆ์ที่เข้าไป
อยู่ในป่าช้าหรือว่าเข้าสุสาน หรือโสสานนี้ ต้องเข้าไปพักอยู่ ที่โคนไม้ใหญ่ในป่าช้าแต่ละต้นห่างกัน
พอประมาณ
จึงเรียกว่า "ไปอยู่รุกขมูล" หรือ "เข้ารุกขมูล" การเข้าโสสารหรือรุกขมูลนี้ พระสงฆ์ต้อง
ถือปฏิบัติในธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กรรม"คือปฎิบัติจริงจังไม่ยอมเดือน
ทางไปไหน ชาวบ้านพูกกันว่า "ธุเจ้าเข้ากรรม"
|